กนอ.- พีอีเอ เอ็นคอม เซ็นเอ็มโอยูพัฒนาโครงสร้างพลังงาน รองรับนิคมฯ อัจฉริยะ

กนอ.- พีอีเอ เอ็นคอม เซ็นเอ็มโอยูพัฒนาโครงสร้างพลังงาน รองรับนิคมฯ อัจฉริยะ

|

กนอ.- พีอีเอ เอ็นคอม เซ็นเอ็มโอยูพัฒนาโครงสร้างพลังงาน รองรับนิคมฯ อัจฉริยะ


“กนอ.- พีอีเอ เอ็นคอม”เซ็น MOU ลุยพัฒนาโครงสร้างพลังงาน รองรับนิคมฯอัจฉริยะ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ร่วมลงนามสัญญาความร่วมมือกับ“PEA ENCOM” ศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน“Smart Energy”เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ลดต้นทุนการผลิต พร้อมศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ“Smart Grid”โดยใช้เทคโนโลยีทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้า เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ลุยเฟสแรก 15 นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

PEA ENCOM_กนอ_MOU-5.jpg

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำโดย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Smart Energy เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) กับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) (บริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : กฟภ.) โดยนายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้รับมอบอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ด้าน Smart Energy และ Smart Grid ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง จำนวน 15 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนในการส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกับระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน รวมถึงรูปแบบการลงทุนในด้าน Smart Energy และ Smart Grid โดยนำร่องในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจและการให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยหากผลการศึกษามีความเป็นไปได้และเป็นที่น่าพอใจในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจและเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายแล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดการดำเนินงานในอนาคตต่อไป

ด้านนายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ 2 องค์กรที่จะมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจพลังงานสะอาด ซึ่งพีอีเอ เอ็นคอมฯให้การสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาดในรูปแบบของพลังงานหมุนเวียน และสอดรับกับวิสัยทัศน์ของบริษัท คือ “องค์กรที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานและนวัตกรรม ที่เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาค" โดยการพัฒนาโครงการนี้เพื่อสร้างต้นแบบธุรกิจใหม่ในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเข้าสู่ความเป็น Smart Energy มากขึ้น และยกระดับพัฒนาสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Smart Industrial Estate)ที่สมบูรณ์แบบทุกด้าน มีการผสมผสานระบบพลังงานและระบบบริหารจัดการพลังงาน หรือ Energy Management System : EMS ที่สามารถเชื่อมโยงทุกระบบเข้าไว้ด้วยกัน ทั้ง Smart Energy, Smart Grid, Smart Meter เพื่อรองรับการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้มีเป้าหมายดำเนินการในระยะเวลา 2 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้าน Smart Energy โดยการบริหารจัดการพลังงานเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาดและการลดต้นทุนค่าพลังงาน ออกแบบเบื้องต้นในการติดตั้งระบบ Smart Meter รวมถึงบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า(EV Integration)เพื่อติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้าน Smart Grid เน้นศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้า เช่น การตอบสนองด้านโหลดและการบริหารจัดการพลังงาน ระบบกักเก็บพลังงาน(ESS)เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

ส่วนระยะที่ 2 หลังผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในพื้นที่นำร่องและทั้งสองฝ่ายได้ผลศึกษาจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดการดำเนินงานในอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายในของทุกฝ่ายอีกครั้งต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

https://www.facebook.com/161894691132329/posts/1055194791802310/?sfnsn=mo

https://www.matichon.co.th/economy/news_3414039

https://www.bangkokbiznews.com/business/1011424

https://www.thansettakij.com/economy/529871

"กนอ."-พีอีเอ"ลุยศึกษาโอกาส พลังงานรับนิคมฯอัจฉริยะใน 2ปี

ผู้จัดการรายวัน 360 องศา | 23 มิ.ย. 2565 | หน้า 5

https://aws.iqnewsclip.com/agent.aspx?D=6ca6FBy6860

“กนอ.- พีอีเอ เอ็นคอม”เซ็น MOU ลุยพัฒนาโครงสร้างพลังงาน รองรับนิคมฯอัจฉริยะ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ร่วมลงนามสัญญาความร่วมมือกับ“PEA ENCOM” ศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน“Smart Energy”เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ลดต้นทุนการผลิต พร้อมศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ“Smart Grid”โดยใช้เทคโนโลยีทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้า เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ลุยเฟสแรก 15 นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

PEA ENCOM_กนอ_MOU-5.jpg

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำโดย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Smart Energy เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) กับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) (บริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : กฟภ.) โดยนายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้รับมอบอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ด้าน Smart Energy และ Smart Grid ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง จำนวน 15 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนในการส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกับระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน รวมถึงรูปแบบการลงทุนในด้าน Smart Energy และ Smart Grid โดยนำร่องในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจและการให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยหากผลการศึกษามีความเป็นไปได้และเป็นที่น่าพอใจในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจและเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายแล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดการดำเนินงานในอนาคตต่อไป

ด้านนายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ 2 องค์กรที่จะมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจพลังงานสะอาด ซึ่งพีอีเอ เอ็นคอมฯให้การสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาดในรูปแบบของพลังงานหมุนเวียน และสอดรับกับวิสัยทัศน์ของบริษัท คือ “องค์กรที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานและนวัตกรรม ที่เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาค" โดยการพัฒนาโครงการนี้เพื่อสร้างต้นแบบธุรกิจใหม่ในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเข้าสู่ความเป็น Smart Energy มากขึ้น และยกระดับพัฒนาสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Smart Industrial Estate)ที่สมบูรณ์แบบทุกด้าน มีการผสมผสานระบบพลังงานและระบบบริหารจัดการพลังงาน หรือ Energy Management System : EMS ที่สามารถเชื่อมโยงทุกระบบเข้าไว้ด้วยกัน ทั้ง Smart Energy, Smart Grid, Smart Meter เพื่อรองรับการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้มีเป้าหมายดำเนินการในระยะเวลา 2 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้าน Smart Energy โดยการบริหารจัดการพลังงานเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาดและการลดต้นทุนค่าพลังงาน ออกแบบเบื้องต้นในการติดตั้งระบบ Smart Meter รวมถึงบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า(EV Integration)เพื่อติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้าน Smart Grid เน้นศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกันในระบบไฟฟ้า เช่น การตอบสนองด้านโหลดและการบริหารจัดการพลังงาน ระบบกักเก็บพลังงาน(ESS)เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

ส่วนระยะที่ 2 หลังผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในพื้นที่นำร่องและทั้งสองฝ่ายได้ผลศึกษาจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดการดำเนินงานในอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายในของทุกฝ่ายอีกครั้งต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

https://www.facebook.com/161894691132329/posts/1055194791802310/?sfnsn=mo

https://www.matichon.co.th/economy/news_3414039

https://www.bangkokbiznews.com/business/1011424

https://www.thansettakij.com/economy/529871

"กนอ."-พีอีเอ"ลุยศึกษาโอกาส พลังงานรับนิคมฯอัจฉริยะใน 2ปี

ผู้จัดการรายวัน 360 องศา | 23 มิ.ย. 2565 | หน้า 5

https://aws.iqnewsclip.com/agent.aspx?D=6ca6FBy6860